เมนู

29. เขโฬ (น้ำลาย)


คำว่า เขโฬ คือ อาโปธาตุที่ประสมขึ้นเป็นฟองภายในปาก. เขฬะ
นั้น ว่าโดยสี มีสีขาวดังฟองน้ำ. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานตามที่ตั้งอยู่ แม้
จะกล่าวว่า มีสัณฐานดังฟองน้ำ ก็ควร. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่า
โดยโอกาส ออกจากกระพุ้งแก้มทั้งสองมาตั้งอยู่ที่ลิ้น แต่มิได้ขังอยู่ในที่นั้น
ทุกเมื่อ แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายเห็นหรือนึกถึงอาหารเห็นปานนั้น (หมายถึง
อาหารที่ทำให้น้ำลายออกได้) หรือว่า วางสิ่งอะไร ๆ มีรสร้อน ขม เผ็ด
เค็ม และเปรี้ยวลงไปในปาก หรือว่าเมื่อใด หัวใจของสัตว์เหล่านั้นอ่อนเพลีย
หรือเกิดความหิวกระหายในอะไร ๆ ขึ้น เมื่อนั้น น้ำลายเกิดขึ้นแล้วก็หยั่งลง
ที่กระพุ้งแก้มทั้งสองข้างมาอยู่ที่ลิ้น. อนึ่ง น้ำลายนั้น ที่ปลายลิ้นมีน้อย ที่
โคนลิ้นมีมาก มิรู้จักหมดสิ้นไป ทั้งสามารถเพื่อจะยังอะไร ๆ มีข้าวเม่า หรือ
ข้าวสาร หรือของที่ควรเคี้ยว ที่ใส่เข้าไปในปากให้ชุ่มอยู่ ดุจบ่อน้ำที่เขาขุด
ไว้ใกล้หาดทราย ฉะนั้น.
ว่าโดยปริจเฉท กำหนดโดยส่วนที่เป็นน้ำลาย. นี้เป็นสภาคปริจเฉท
ของน้ำลาย ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

30. สิงฺฆานิกา (น้ำมูก)


คำว่า สิงฺฆานิกา ได้แก่ น้ำไม่สะอาด อันไหลออกจากมันสมอง.
น้ำมูกนั้น ว่าโดยสี มีสีดังเยื่อในจาวตาลอ่อน. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐาน
ตามที่ตั้งอยู่. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่เต็มโพรง
จมูก แต่มิได้ขังอยู่ในที่นั้นทุกเมื่อ ก็แลเมื่อใด สัตว์ทั้งหลายร้องให้ หรือ
เป็นผู้มีธาตุกำเริบอันเกิดขึ้นด้วยอาหารอันแสลงหรือฤดูเปลี่ยนแปลง เมื่อนั้น
มันสมองที่ถึงความเป็นเสมหะเสีย จึงเคลื่อนหยั่งลงตามช่องเพดานข้างบนมา